วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงสร้างพืช

























เนื้อเยื่อของพืชแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. เนื้อเยื้อเจริญ ( MERISTMETIC TISSUE ) สามารถแบ่งเซลล์ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง

2. เนื้อเยื่อถาวร ( PERMANENT TISSUE ) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการแบ่งเซลล์อีกแล้วได้แก่

2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เช่น อิพิเดอร์มิส พาเรนไคมา คอลเลนไคมา สเคอเรนไคมา เอนโดเดอร์มิส

2.2 เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน ประกอยด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกัน เช่นเนื้อเยื่อท่อลำเลียง
โครงสร้างของลำต้น
ชั้นของเนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่เรียงตัวจากภายนอกเข้าสู่ภายในตามลำดับดังต่อไปนี้
1. EPIDERMIS เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกันชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์
2. CORTEX อยู่ใต้ชั้น EPIDERMIS เป็นชั้นที่มีคลอโรพลาสต์อยู่
3. STELE ประกอบด้วย
3.1 VASCULAR BUNDLE คือชั้นของเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มๆ คือเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร ( PHLOEM )
3.2 PITH คือส่วนที่อยุ่ด้านในสุดทำหน้าที่สะสมแป้ง
โครงสร้างของลำต้น

ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และน้ำ
เนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด
เมื่อตัดตามยาวผ่านกลางส่วนปลายยอด แล้วนำไปศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่างๆ จะเห็นเซลล์มีลักษณะขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวเป็นบริเวณต่างๆ ดังนี้
1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์บริเวณนี้จะแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา
2. ใบเริ่มเกิด (leaf primordium) อยู่ตรงด้านข้างของปลายยอดส่วนที่เป็นขอบของความโค้ง ถ้าพืชตัวอย่างที่ศึกษามีใบแบบตรงข้ามกันจะเห็นใบเริ่มเกิดอยู่ 2 ข้าง ใบเริ่มเกิดนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นใบอ่อน ตรงโคนของใบเริ่มเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็นแนวยาวจากลำต้นขึ้นไปจนถึงใบอ่อน
3. ใบอ่อน (young leaf) เป็นใบที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เซลล์ของใบยังมีการแบ่งเซลล์ และเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงเซลล์ต่อไปอีกจนในที่สุดจะได้เป็นใบที่เจริญเต็มที่
4. ลำต้นอ่อน (young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมา ลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวน และขยายขนาดต่อไปได้อีก
โครงสร้างภายในลำต้น

1. เอพิเดอร์มิส อยู่นอกสุดประกอบด้วยเซลล์ผิวเรียงเป็นแถวเดียว บางเซลล์อาจเปลี่ยนไปเป็นขนผิวด้านนอกของเซลล์ในชั้นนี้จะมีสารคิวทีนเคลือบอยู่
2. คอร์เทกซ์ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเอพิเดอร์มิสเข้ามาประกอบด้วยเซลล์หรือเนื้อเยื่อหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาและมีคอลเลงคิมา (collenchyma) อยู่ใต้ผิวหรืออยู่ตามสันของลำต้น
3. สตีล สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่จะกว้างมากและแยกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน ประกอบด้วย
3.1 มัดท่อลำเลียง อยู่เป็นกลุ่มๆ ด้านในเป็นไซเลม ด้านนอกเป็นโฟลเอ็มเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน
3.2 วาสคิวลาร์เรย์ เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิวมาที่อยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียง เชื่อมต่อระหว่างคอร์เทกซ์และพิธ
3.3 พิธ อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิวมา ทำหน้าที่สะมสแป้งหรือสารต่างๆ
สำหรับลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆคล้ายกับในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่แตกต่างกันตรงที่มัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจายอยู่ทั่วไป ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมขั้นระหว่างไซเลมและโฟลเอ็ม พืชบางชนิดพิธจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่ใจกลางลำต้น เรียกว่า ช่องพิธ (pith cavity) พบมากในบริเวณปล้อง
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นใบเลียงคู่ พืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้เป็นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้างจะมีวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดขึ้นตรงแนวระหว่างไซเลม และโฟลเอ็มของการเจริญเติบโตขั้นแรก
วาสคิวลาร์แคมเบียม จะแบ่งเซลล์สร้างเนื้อเยื่อไซเลมขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านในและสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอ็มขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านนอก การแบ่งเซลล์ได้ไซเลมขั้นที่สองจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการเกิดโฟลเอ็มขั้นที่สอง ในพืชส่วนมากโฟลเอ็มขั้นแรกทางด้านนอกจะถูกโฟลเอ็มขั้นที่สองที่สร้างขึ้นใหม่เบียดจนสลายไปหมด
ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟลเอ็มขั้นที่สองจำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุอาหาร ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจาง ส่วนในฤดูแล้งเซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นเป็นแถบแคบๆ และมีสีเข้ม ลักษณะดังกล่าวทำให้เนื้อไม้มีสีจางและมีสีเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี (annual ring